"Ukulele" เป็นภาษาฮาวายเอี้ยน ความหมายของคำว่า "ukulele" ถูกแยกเป็นสองคำคือ "uku" ซึ่งแปลว่า "ของขวัญหรือรางวัล" ส่วนคำว่า "lele" แปลว่า "การได้มา" ดังนั้นเมื่อนำสองคำนี้มารวมกัน จึงแปลความหมายได้ว่า "ของขวัญที่ได้มา" "Ukulele" อาจจะเป็นเครื่องดนตรีชิ้นใหม่สำหรับใครบางคน แต่สำหรับนักดนตรี หรือผู้คนบนเกาะฮาวาย(Hawaii) Ukulele เป็นเครื่องดนตรีที่เป็นเสมือนศิลปะ และวัฒนธรรมของชาวฮาวายเอี้ยน เครื่องดนตรีชิ้นนี้ถูกเล่นในงานรื่นเริงต่างๆ ในทุกๆ เทศกาล Ukulele กลายเป็นเครื่องดนตรีชิ้นเอกที่ได้รับความนิยมเป็นอย่างยิ่งบนเกาะฮาวาย ดังนั้น ชาวฮาวายเอี้ยนกับอูกูลีเล จึงแยกจากกันไม่ออก!Ukulele คืออะไร? เครื่องดนตรีที่มีขนาดเล็กพกพาสะดวก สวยสะดุดตาเมื่อแรกเห็น และตัวจิ๋วเล็กนิดเดียว ในชื่อ "Ukulele" (ออกเสียงว่า อูกูลีเล) บางท่านอาจจะสามารถเรียกอีกชื่อว่า อูกี (Uke) ก็คงไม่ผิด เครื่องดนตรีชิ้นนี้เกิดมาก่อนสงครามโลกสะอีก อายุอานามไม่แพ้อะคูสติกกีต้าร์ เพียงแต่ว่าเครื่องดนตรีทั้งสองมีการกำเนิด และมีการพัฒนาที่แตกต่างกัน กีต้าร์โปร่งโด่งดังและพัฒนามาจากอเมริกา และ Ukulele เป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านมาจากเกาะฮาวาย เกิดมาก่อนยุคสงครามโลก ต่อมาช่วงยุค 60's เจ้า Ukulele ขึ้นมาโด่งดังและรู้จักกันแพร่หลายมากขึ้น เพราะว่านักดนตรีโฟล์คซอง และแจ๊ส ได้นำมันไปเล่น ตามสถานที่ต่างๆ ทำให้ผู้คนทั่วไปเริ่มคุ้นหน้าคุ้นตา และรู้จักกับเจ้า Ukulele มากขึ้น | ||||||||||||||||||
"John Lennon / George Harrison / Elvis Presley"
| ||||||||||||||||||
ผู้คนต่างแดนเริ่มพบเห็น และรู้จักเจ้า Ukulele อย่างแพร่หลายมากขึ้น เช่นวง The Kingston Trio (American Folksong) เป็นวงโฟล์คซอง ก่อนยุค Peter Paul & Mary, ซึ่งเป็นวงดนตรีโฟล์คซองที่มีชื่อเสียงมากในยุคนั้น ทั้ง David Guard และ Bob Shane เกิดและโตมาจากเกาะฮาวาย เล่น Ukulele มาตั้งแต่เด็ก หรือแม้กระทั้งสมาชิกวง "The Beatles" ยังเคยนำเจ้า Ukulele ไปใช้ ยังรวมทั้ง "Elvis Presley" ในช่วงยุค 80's Ukulele เริ่มตกกระแส ความนิยม การนำมาใช้เล่น และการกล่าวถึงเริ่มจางลงจนแทบจะหายไป ต่อมาในช่วงปี 1990 เกิดกระแสขึ้นอีกครั้ง เมื่อเกิดศิลปิน Israel Kamakawiwo'ole(IZ) นักดนตรีจากเกาะฮาวาย ด้วยเอกลักษณ์ตัวอ้วนใหญ่คล้ายกับยักษ์ แต่เลือกที่จะเล่น Ukulele ตัวจิ๋วเป็นเครื่องดนตรีคู่กาย, IZ จึงได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก กระแส IZ จึงเกิดมาพร้อมกับ Ukulele เพลงของ IZ ยังถูกไปใช้เป็นเพลงประกอบหนังอยู่เป็นระยะๆ IZ ได้ร้องและเล่นบทเพลง "Over the Rainbow/What a Wonderful World" ซึ่งทำให้ผู้คนเริ่มหลงเสน่ห์ในเสียงของ ukulele เข้าอย่างจัง | ||||||||||||||||||
"IZ Israel Kamakawiwo'ole / Jake Shimabukuro"
| ||||||||||||||||||
ปลายยุค 90's หลังจากที่ Ukulele เริ่มแพร่หลายในอเมริกา เจ้า Ukulele ยังไปมีชื่อเสียงในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย เพราะเด็กหนุ่มลูกครึ่งญี่ปุ่นฮาวายฝีมือขั้นเทพนามว่า "Jake Shimabukuro" ได้นำ Ukulele มาเล่นเพลงได้อย่างน่าทึ่ง ด้วยลีลาอันสุดเร้าใจ ดุดัน รุนแรง ทั้งวิธีการนำเอาเพลงที่เคยได้รับความนิยมในอดีต มา cover ด้วย Ukulele จึงทำให้ผู้ฟังสามารถเข้าถึงเสน่ห์ของ Ukulele ได้ง่ายขึ้น Jake จึงถือเป็นผู้ที่มีบทบาทมากที่สุดคนหนึ่ง ที่ทำให้วัยหนุ่มสาวยุคใหม่ เริ่มหันมาสนใจที่จะฝึกหัด และหัดเล่น ukulele อย่างจริงๆ จังๆ นอกจากนั้นแล้ว ศิลปินยุคใหม่เช่น "Jack Johnson" และ "Jason Mraz" ก็ยังเล่น ukulele กับเขาด้วย ประเภทของ Ukulele มีขนาดใดบ้าง? Ukulele มีสายเพื่อใช้บรรเลงเพลงแค่เพียง 4 สาย โดยใช้สายไนล่อน รูปทรงจะเล็กกว่าอะคูสติกกีต้าร์มาก ซึ่งจะมีขนาดอยู่ 4 ขนาด คือ 1) soprano (standard size) มีขนาดความยาว 21" นิ้ว 2) concert มีขนาดความยาว 23" นิ้ว 3) tenor มีขนาดความยาว 26" นิ้ว 4) baritone มีขนาดความยาว 30" นิ้ว | ||||||||||||||||||
Ukulele แต่ละขนาด มีเอกลักษณ์อย่างไร? Soprano ถือเป็นขนาดมาตรฐานสำหรับชาวฮาวายเอี้ยน แต่สำหรับคนไทยอาจจะไม่ใช่ โดยเฉพาะผู้ที่เล่นอะคูสติกกีต้าร์มาก่อน ถ้าหากเริ่มต้นหัดจากขนาด Soprano อาจจะท้อสะก่อน เพราะยิ่งขนาดเล็กเท่าไร ก็ยิ่งทำให้การเล่นทำได้ยากมากขึ้นเท่านั้น Fingerboard ที่เล็ก ทำให้การวางตำแหน่งของมือซ้ายทำได้ยาก และขนาดตัวที่เล็กก็ทำให้การโอบ หรือการพยุงมันขึ้นมาแนบกับอก ก็ยิ่งทำได้ยาก เพราะยิ่งโอบไว้นานยิ่งเมื่อย รวมถึงระยะห่างของสายทั้งสี่เส้นก็มีระยะห่างน้อยมาก จึงทำให้การเล่น finger ตามได้ยาก แต่ไม่ใช่ว่าขนาด Soprano นี้จะไม่ดี มันก็เหมือนกับอะคูสติกกีต้าร์นั่นล่ะ ที่แต่ละทรงก็มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ซึ่งขนาด Soprano จะให้เสียงที่คมชัด แหลมดี และย่านเสียงสูงยอดเยี่ยมกว่าทรงอื่นๆ มันเหมาะเป็นอย่างยิ่งกับการเล่นแบบตีคอร์ด เป็น Background ให้กับวง ดังนั้น ukulele ขนาด Soprano จึงเหมาะสำหรับผู้ที่เล่น Ukulele ได้คล่องแล้ว และเน้นสไตล์การเล่นแบบตีคอร์ด Concert จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าขนาด soprano ขนาดตัว และฟิงเกอร์บอร์ดที่มีความกว้างมากขึ้นนั้น ช่วยทำให้การเคลื่อนของมือซ้าย ทำได้ง่ายขึ้น เอกลักษณ์เสียงของขนาด Concert คือให้เสียงแหลมพอประมาณ และมีเสียงกลางผสม จึงเหมาะกับการใช้เล่น ในสไตล์ strum-chord(ตีคอร์ด) เป็นหลัก แต่สามารถใช้เล่นสไตล์ finger-picking ได้เช่นกัน Tenor มีขนาดใหญ่กว่า concert ผู้เล่นสามารถเล่นได้ง่าย คือทั้งการโอบหรือพยุงขึ้นแนบกับอกทำได้ง่ายขึ้น การใช้มือซ้ายและมือขวา เคลื่อนไหวได้ง่าย ขนาดของลำตัว(body) และฟิงเกอร์บอร์ดที่ใหญ่ขึ้นนั้น จึงเหมาะกับผู้ที่มีนิ้ว/มือที่ใหญ่ หรือผู้ที่เพิ่งเริ่มหัดเล่น เอกลักษณ์เสียงอยู่ที่เสียงกลางดี มีเนื้อเสียงที่ชัดเจน จึงเหมาะกับการเล่นแบบ finger-picking และ solo ได้ดี เสียงที่ออกมาจะมีความ ใกล้เคียงอะคูสติกกีต้าร์พอสมควร แต่ tenor ให้โทนเสียงแหลมคมและการพุ่งของเสียง จะน้อยกว่า soprano และ concert Baritone เหมาะกับการเล่นโน๊ตเป็นตัวๆ หรือการเล่นแบบโซโล หรือเล่นแบบ Finger-style ให้ย่านเสียงต่ำดี แต่ย่านเสียงสูงไม่โดดเด่น จึงตอบสนองเสียงคมๆ แหลมๆ ได้ไม่ดีนัก มีเสียงใกล้เคียงกับอะคูสติกกีต้าร์มากที่สุด | ||||||||||||||||||
"ภาพแสดงส่วนประกอบต่างๆ ของ Ukulele"
| ||||||||||||||||||
วิธีการตั้งสาย Ukulele แบบมาตรฐาน(C tuning): | ||||||||||||||||||
การตั้งสาย ukulele สำหรับขนาด "soprano", "concert" และ "tenor" มีหลายแบบ ในที่นี้ขอยกตัวอย่างการตั้งแบบมาตรฐาน ให้ตั้งเป็น G(สาย4) C(สาย3) E(สาย2) A(สาย1) | ||||||||||||||||||
สรุปง่ายๆ ว่า ถ้าเอาคาโป้(capo) มาคาดตรง fret ที่ 5 ของคออะคูสติกกีต้าร์ ก็เหมือนกับเล่น Ukulele แล้วครับ คือทุกๆ สายจะเป็นโน๊ตตัวเดียวกันหมด ทั้งขนาด soprano, concert และ tenor (แต่ G ของสาย 4 เป็นเสียงสูง) สำหรับเครื่องตั้งสายอะคูสติกกีต้าร์สมัยใหม่ จะมีให้เลือกตั้งสายแบบ ukulele ด้วย แต่ถ้าไม่มีก็สามารถตั้งได้ถ้าเราจำเสียงได้ | ||||||||||||||||||
Baritone วิธีการตั้งสายสำหรับขนาด Baritone จะแตกต่างกับขนาดอื่นๆ คือให้ตั้งเป็น D G B E จะสังเกตุเห็นว่า การตั้งแบบนี้ก็เหมือนกับ การตั้งสายล่าง(เสียงสูง)ของอะคูสติกกีต้าร์ ดังนั้น Baritone จะตั้งสายโดยถอดแบบมาจากสายล่าง(เสียงสูง)ของกีต้าร์ คือ 4(D) 3(G) 2(B) 1(E)
|
ประวัติ Ukulele
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น